วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประวัติอินเตอร์เน็ต


 พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ค..ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียดายหรือถูกทำลาย กระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อได้มาพัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุด
การเริ่มต้นของเครือข่ายนี้ เริ่มในเดือน ธันวาคม 2512 (1969) จำนวน 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่
          - มหาวิทยาลัยยูทาห์
          - มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา
          - มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส
          - สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
และขยายต่อไปเรื่อยๆ เป็น 50 จุดในปี พ.ศ. 2515 จนเป็นหลายล้านแห่งทั่วโลกทีเดียว
งานหลักของเครือข่ายนี้ คือ การค้นคว้าและวิจัยทางทหาร ซึ่งอาศัยมาตรฐานการรับส่งข้อมูลเดียวกัน ที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และตัวกลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน และมาตรฐานนี้ก็มีจุดอ่อนในการขยายระบบ จนต้องมีการพัฒนามาตรฐานใหม่



การรวมเครือข่ายเข้าด้วยกันและกำเนิดอินเทอร์เน็ต
 TCP/IP
ได้มีความพยายามที่จะรวมวิธีติดต่อของเครือข่ายต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วเข้าด้วยกัน โดยรอเบิร์ต อี. คาห์นจากดาร์พาและอาร์พาเน็ตได้ขอตัววินต์ เซิร์ฟจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเพื่อทำงานร่วมกับเขาเพื่อแก้ปัญหานี้ ใน ค.ศ. 1973 ทั้งสองได้พัฒนาแนวทางแก้ไขขั้นมูลฐานขึ้น โดยในแนวทางนี้ ความแตกต่างระหว่างเกณฑ์วิธีต่าง ๆ จะถูกซ่อนไว้โดยใช้เกณฑ์วิธีระหว่างเครือข่ายแบบใดแบบหนึ่งร่วมกัน และแทนที่ตัวเครือข่ายจะรับผิดชอบเรื่องความเชื่อถือได้ของข้อมูลอย่างในอาร์พาเน็ต โฮสต์จะเป็นผู้รับผิดชอบแทน เซิร์ฟยกความดีความชอบเกี่ยวกับงานสำคัญ ๆ ในการออกแบบเกณฑ์วิธีนี้ให้แก่ ฮิวเบิร์ต ซิมเมอร์แมนเชราร์ เลอลาน และลุย ปูแซง (ผู้ออกแบบเครือข่าย CYCLADES)

                           

เมื่อบทบาทของตัวเครือข่ายได้ถูกลดลงจนเหลือน้อยที่สุดแล้ว จึงเป็นไปได้ที่จะเชื่อมเครือข่ายใด ๆ แทบทุกแบบเข้าด้วยกัน ไม่ว่าคุณลักษณะของเครือข่ายนั้น ๆ จะเป็นเช่นไร อันเป็นการแก้ปัญหาขั้นต้นที่คาห์นตั้งไว้ ดาร์พาได้เห็นชอบที่จะให้เงินทุนในการพัฒนาซอฟต์แวร์ต้นแบบ และหลังจากการลงแรงเป็นเวลาหลายปี จึงได้มีการสาธิตเกตเวย์อย่างหยาบ ๆ เป็นครั้งแรกระหว่างเครือข่ายแพกเกตเรดิโอในซานฟรานซิสโกเบย์แอเรียกับอาร์พาเน็ต ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1977 ได้มีการสาธิตการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายสามแห่ง ซึ่งได้แก่ อาร์พาเน็ตเครือข่ายแพกเกตเรดิโอ และเครือข่ายแอตแลนติกแพกเกตแซเทลไลต์ ซึ่งทั้งหมดอุปถัมภ์โดยดาร์พา ในส่วนของเกณฑ์วิธี เริ่มต้นจากข้อกำหนดคุณลักษณะรุ่นแรกของ TCP ใน ค.ศ. 1974 เกณฑ์วิธี TCP/IP ได้ก่อตัวเป็นรูปร่างซึ่งใกล้เคียงกับรูปแบบสุดท้ายในประมาณกลางปีถึงปลายปี ค.ศ. 1978 มาตรฐานที่เกี่ยวข้องได้ตีพิมพ์เป็นอาร์เอฟซี 791792 และ 793 และได้ถูกนำไปใช้ ดาร์พาได้อุปถัมภ์หรือส่งเสริมการพัฒนาการนำ TCP/IP ไปใช้จริงในระบบปฏิบัติการต่าง ๆ จากนั้นจึงได้กำหนดตารางเวลาในการโยกย้ายโฮสต์ทุกตัวในเครือข่ายแพกเกตของตนไปใช้ TCP/IP ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1983 เกณฑ์วิธี TCP/IP ได้กลายเป็นเกณฑ์วิธีเดียวที่ได้รับการรับรองบนอาร์พาเน็ต แทนที่เกณฑ์วิธี NCP ที่ใช้แต่เดิม 

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
        
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร" การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน) ... ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2551 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.99 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 28.2 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 10.96 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.2


แนวโน้มการใช้อินเตอร์เน็ตในอนาคต






      เป็น ที่แน่นอนแล้วว่าในอนาคต อินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีส่วนร่วมกับชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น และจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีรูปแบบใหม่ ดังนี้
  • การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตกับเครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน (Internet Device) จนถึงขั้นสามารถควบคุมบ้านทั้งหลังได้
  • ด้วยระบบอินเทอร์เน็ต
    • มีการประชุมทาง VoIP กันจนเป็นเรื่องปกติทั่วไป เพราะน้ำมันมีราคาแพง การเดินทางไปประชุมจะเป็นเรื่องที่ไม่คุ้มค่า จนต้องประชุมผ่านเครือข่าย เนื่องจากปัจจุบันอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงราคาถูกลงมากแล้ว และสามารถติดตั้งตามบ้านที่พักอาศัยทั่วไปได้
    • นัก ธุรกิจรายย่อย จะมีการใช้เว็บไซต์สำเร็จรูป (DIY Website) ในการประชาสัมพันธ์ธุรกิจให้เป็นที่รู้จักของคนที่ใช้งาน          อินเทอร์เน็ต เพราะทำได้ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่าย แม้แต่ร้านขายขนมร้านเล็กๆ ก็ยังมีเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ตนเอง
    • มีอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi) ให้บริการทั่วไปตามร้านสะดวกซื้อ
    • อิน เทอร์เน็ตจะมอบอำนาจสื่อให้แก่คนทั่วไป ทั้งเรื่องข่าวสาร วิทยุ โทรทัศน์ จนถึงขั้นที่ข้อมูลต่างๆ ไม่ได้ตกอยู่กับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งดังในอดีต เห็นได้จากเว็บไซต์ http://www.myspace.com ที่ทำให้การทำเว็บไซต์ทำได้ง่ายขึ้น สามารถใส่ภาพ ใส่เพลง และเขียนบันทึกที่เรียกว่า Blog เพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้อย่างกว้างขวาง และเว็บ http://www.youtube.comที่ ให้คนสามารถอัพโหลดไฟล์วีดิโอไปแบ่งปันกันดูได้อย่างง่ายดาย แม้แต่อินเทอร์เน็ตความเร็ว 56 K ก็สามารถดูได้ แต่ว่าความถูกต้องของสื่ออาจจะยังเป็นเรื่องที่เชื่อถือไม่ได้ทั้งหมด
    • จะมีการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถแลกเปลี่ยนไฟล์กันทางโปรแกรมสำหรับ ดาวน์โหลดไฟล์ เช่น โปรแกรม Bitcomet, ABC, Azureus, BitTorrent  ฯลฯ ได้ง่าย
    อินเทอร์เน็ตจะกลายเป็นแหล่งก่ออาชญากรรมแหล่งใหม่ เนื่องจากคนใช้งานมากขึ้น เมื่อเกิดปัญหาใดๆ ขึ้นก็ตาม จะส่งผลกระทบในวงกว้างและก่อให้เกิดความสูญเสียเป็นมูลค่ามหาศาลไม่ต่างจาก การก่ออาชญากรรมทางอื่น

ความเป็นมาของบริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย


       ก่อน หน้าที่จะมีการเปิดบริการอินเตอร์เน็ต ในประเทศไทย ในเชิงธุรกิจดังเช่นทุกวันนี้นั้น ได้มีการเริ่มต้นติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สำหรับใช้ในการศึกษาของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการมาเป็นลำดับ เริ่มตั้งแต่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ Asian Institute of technology หรือ AIT เชื่อต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ เข้ารับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2530 โดยใช้สายโทรศัพท์ติดต่อรับส่งข้อมูลกันผ่านทางโมเด็ม ซึ่งทางออสเตรเลียจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการโทรทางไกลเข้ามารับข้อมูลกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และ AIT วันละ 4 ครั้ง แบ่งเป็น การ ติดต่อเข้าที่สงขลา 2 ครั้ง และ ที่ AIT 2 ครั้ง ซึ่งในขณะนั้น ใช้โมเดม ความเร็วเพียง 2400 บิต ต่อวินาที เท่านั้นผู้ใช้บริการทางจดหมายอิเล็กทอนิกส์ ก็คืออาจารย์ในมหาวิทยาลัย ทั้งสองแห่ง รวมถึงมหาวิทยาลัยอื่นๆด้วย แต่ผู้ใช้บริการ AIT จะมีมากกว่า เนื่องจากมีอาจารย์ที่ AIT ใช้งานกันมาก และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร ก็ใช้งานผ่านทาง AIT ด้วย จะเห็นว่า รุ่นบุกเบิกนี้ การรับส่งข้อมูลยังใช้วงจรโทรศัพท์เรียกติดต่อเป็นครั้งคราว ไม่มีการเชื่อต้อกันตลอดเวลา ระหว่างคู่สาย หรือวงจรเช่า ในปัจจุบัน และความเร็ว ในการรับส่งข้อมูลของโมเด็มในยุคนั้น ก็ไม่รวดเร็วเท่าใดนัก

ต่อ มาในปี พ.ศ. 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ได้เช่าวงจรถาวรเชื่อต่อข้อมูลกับอินเตอร์เน็ตแบบอ อนไลน์ เป็นครั้งแรก ด้วยความเร็ว 9,600 บิตต่อนาที โดยเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายของอินเตอร์เนตที่ UUNET Technologies ซึ่งทำหน้าที่เป็น ISP ในสหรัฐอเมริกา และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC (National Electronic and Computer Technology Center) ก็ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาภายในประเทศจำนวน 6 แห่งเข้าด้วยกัน เพื่อให้บริการอินเตอร์เน็ตภายในปประเทศอย่างสมบูรณ์แบบ ประกอบด้วยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, NECTEC, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า "ไทยสาร" (Thai Social/Scientific Academic and Research Network, Thai Sarn) ซึ่งเป็นการใช้งานอินเตอร์เน็ตทางการศึกษาและวิจัยโดยเฉพาะ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของบริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย โดยทั้ง 6 แห่งจะใช้คอมพิวเตอร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นจุดสำหรับเชื่อมต่อรับส่ง ข้อมูลกับต่างประเทศเพียงจุดเดียว

          หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2536 เครือข่ายของไทยสารก็ขยายขอบเขตบริการเข้าเชื่อมต่อกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากเดิม 6 แห่งหลายเป็น 19 แห่ง ประกอบด้วยสถาบันในระดับอุดมศึกษาจำนวน 15 แห่ง และหน่วยงานรัฐบาลอีก 4 แห่ง เมื่อมีผู้ใช้บริการมากขึ้นทาง NECTEC จึงได้เพิ่มวงจรระหว่างประเทศความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีขึ้นอีกหนึ่งวงจร ทำให้มีวงจรเชื่อมต่อจากประเทศไทยเข้าสู่เครือข่ายของอินเตอร์เน็ตเพิ่มเป็นสองวงจรเพื่อใช้สำรองซึ่งกันและกันได้ นอกจากนี้ยังทำให้คุณภาพของการใช้งานอินเตอร์เน็ตดีขึ้นมาก ในขณะนั้น NECTEC จึงเป็นจุดเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตจุดหลักแทนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2537 ก็ได้ขยายเครือข่ายออกไปอีก รวมเป็นการเชื่อมต่อหน่วยงานทั้งสิ้น 27 หน่วยงาน แบ่งออกเป็นสถาบันอุดมศึกษา 20 แห่ง และหน่วยงานราชการ 7 แห่ง ซึ่งได้ให้บริการอินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์แบบคือ E-mail, Telnet,ftp, Gopher และ World Wide Web หรือ WWW

                                          

 อย่าง ไรก็ตาม เครือข่ายของไทยสารนี้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อใช้ในงานวิจัยและการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้จัดตั้งขึ้นมาเปิดบริการในเชิงธุรกิจให้บุคคลทั่วไป เนื่องจากไทยสารเป็นเครือข่ายที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลและการเช่าวงจร ระหว่างประเทศจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยนั้น มีเงื่อนไขว่าจะนำไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือเช่าใช้บริการต่อไม่ได้ ดังนั้นบุคคลทั่วไปและบริษัทต่างๆ จึงเชื่อมต่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากเครือข่ายของไทยสารไม่ได้ แม้ว่าจะเป็นผู้บุกเบิกการใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยก็ตาม เมื่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยมีการขายตัวเพิ่มมากขึ้นก็ได้มีการจัด กลุ่มที่ชื่อว่า THAInet (Thailand Access to the Internet) แยกออกจากไทยสาร ซึ่งกลุ่มของ THAInet ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สำนักวิทยบริการ, วิทยาลัยอัสสัมชัญเชียงใหม่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ร่วมกันออกค่าใช้จ่ายสำหรับวงจรเช่าระหว่างประเทศจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ UUNET ความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ส่วนเครือข่ายอื่นๆ ที่เหลือจะเชื่อมต่อเป็นลูกข่ายของไทยสารตามเดิม โดย NECTEC ยังคงเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเช่าวงจรต่างประเทศให้ในฐานะที่ NECTEC เป็นหน่วยงานกลางที่ที่รับผิดชอบด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะเป็นงบประมาณจากรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนผ่าน NECTEC อีกทอดหนึ่ง

          บริษัท ต่างๆ เริ่มมองเห็นประโยชน์ของการใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย และมีความต้องการใช้งานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การสื่อสารแห่งประเทศไทยและองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจึงได้ร่วมมือกับ บริษัทเอกชนที่สนใจเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตโดยแยกเครือข่ายกับไทยสาร เริ่มจาก ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตประเทศไทย (Internet Thailand Service Center - ITSC หรือเรียกย่อๆว่า Internet Thailand), บริษัท KSC ComNet, บริษัท Loxinfo, บริษัท Infonews และบริษัทอื่นๆอีกหลายบริษัท ทหให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยกระจายออกสู่วงกว้าง

          อย่าง ไรก็ตาม เครือข่ายไทยสาร ซึ่งเป็นผู้เริ่มต้อนให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยก็ยังคงขยายตัวออกไป อยู่ตลอดเวลา โดยมีNECTEC เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อและเป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์ในการสื่อสารและวงจร เชื่อมต่อให้กับสถาบันและหน่วยงานราชการต่างๆ ที่ต้องการเชื่อมต่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต พร้อมกันนี้ก็ได้ขยายความเร็วในการรับส่งข้อมูลของวงจรเช้าจาก NECTEC ไปยังสถาบันต่างๆ จาก 9,600 บิตต่อวินาทีถึง 19,200 บิตต่อวินาที เพิ่มขึ้นเป็น 64 กิโลบิตต่อวินาทีในหลายเส้นทาง รวมถึงการติดตั้งวงจรเช่าต่างประเทศความเร็วสูง 2 ล้านบิตต่อวินาที จาก NECTEC

          เชื่อมต่อไปที่ญี่ปุ่นเพื่อเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตอีกทางหนึ่งด้วย        ปัจจุบัน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยที่ให้บริการแก่บริษัทและบุคคลทั่วไป ก็มีการขยายตัวอย่างมากควบคู่ไปกับเครือข่ายไทยสาร ทั้งหมดนี้เป็นประวัติโดยสังเขปการให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทสไทยจากยุค เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันนี้



อินเตอร์เน็ตช่วยในการสื่อสารหรือวิวัฒนาการทำลายการสื่อสาร





อินเตอร์เน็ตช่วยในการสื่อสารหรือวิวัฒนาการทำลายการสื่อสาร

การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตสามารถกระทำได้หลากหลายรูปแบบเช่น
1. จดหมายอิเลคทรอนิกส์
(Electronic Mail)

จดหมายอิเลคทรอนิกส์หรือที่เรียกกันว่า E-mail เป็นการสื่อสารที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่ต้องการได้รวดเร็ว ภายในระยะเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ในที่ทำงานเดียวกันหรืออยู่ห่างกันคนละมุมโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก



2. การสืบค้นข้อมูลแบบเครือข่ายใยแมงมุม
(Wold Wide Web : WWW)

เป็นการสื่อสารที่เติบโตเร็วที่สุดในอินเตอร์เน็ต ด้วยเหตุผลที่สำคัญคือง่ายต่อการใช้งานและสามารถนำเสนอข้อมูลกราฟฟิคได้ การใช้ World Wide Web เปรียบเสมือนการเข้าไปอ่านหนังสือในห้องสมุด โดยหนังสือที่มีให้อ่านจะสมบูรณ์มากกว่าหนังสือทั่วไป เพราะสามารถฟังเสียงและดูภาพเคลื่อนไหวประกอบได้ นอกจากนี้ยังสามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ด้วย ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งคือข้อมูลต่าง ๆ จะมีการเชื่อมโยงถึงกันได้ด้วยคุณสมบัติของ HyperText Link


3. การโอนย้ายข้อมูล
(File Transfer Protocol : FTP)

การโอนย้ายข้อมูล หรือที่นิยมเรียกกันว่า FTP เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากพอสมควรในอินเตอร์เน็ต โดยอาจใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็น freeware shareware จากแหล่งข้อมูลทั้งหลายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานอยู่ ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งที่กำหนดให้ Server ของตนทำหน้าที่เป็น FTP site เก็บรวบรวมข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับให้บริการ FTP ที่นิยมใช้กันมากได้แก่ WS_FTP, CuteFTP


4. การแลกเปลี่ยนข่าวสาร
(USENET)

การสื่อสารประเภทนี้มาที่มาจากกระดานประกาศข่าว หรือ Bulletin Board กล่าวคือ ผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน จะรวมกลุ่มกันตั้งเป็นกลุ่มข่าวของแต่ละประเภท เมื่อมีข้อมูลใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกผู้อื่น หรือมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการความช่วยเหลือหรือคำตอบ ผู้นั้นก็จะส่งข้อมูลของตนเข้าไปติดประกาศไว้ในอินเตอร์เน็ต โดยเครื่องที่ทำหน้าที่ติดประกาศ คือ News Server เมื่อสมาชิกอื่นอ่านพบ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีบางอย่างไม่ถูกต้อง หรือมีคำตอบที่จะช่วยแก้ปัญหาให้ได้ สมาชิกเหล่านั้นก็จะส่งข้อมูลตอบกลับไปติดประกาศไว้เช่นกัน


5. การเข้าใช้เครื่องระยะไกล
(Telnet)

Telnet เป็นการขอเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตจากระยะไกล โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปนั่งอยู่หน้าเครื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้อาจอยู่ภายในสถานที่เดียวกับผู้ใช้ หรืออยู่ห่างกันคนละทวีปก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้ใช้ต้องมี account และรหัสผ่านจึงจะสามารถเข้าใช้เครื่องดังกล่าวได้ ส่วนคำสั่งในการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการของเครื่องที่เข้าไปขอใช้


6. การสนทนาผ่านเครือข่าย
(Talk หรือ Chat)

เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง คือสามารถสื่อสารโต้ตอบกันได้ทันทีเหมือนการใช้โทรศัพท์ ในการสนทนาผ่านเครือข่ายนี้สามารถทำได้ทั้งแบบ Text-based และ Voice-based โดยในระยะแรกจะจำกัดเฉพาะ Text-based คือใช้วิธีการพิมพ์เป็นข้อความในการสื่อสารโต้ตอบระหว่างกัน โปรแกรมที่นิยมใช้คือ Talk และ IRC (Internet Relay Chat) ต่อมาเมื่อมีการพัฒนามากขึ้นทั้งด้าน Hardware และ Software ทำให้ปัจจุบันเราสามารถสทาอสารกันทาง Voice-based ได้ด้วย โปรแกรมที่ใช้ในการสื่อสารประเภทนี้ เช่น NetMeeting ของไมโครซอฟต์ หรือ Inter Phone ของ Vocaltec ฯลฯ

แต่ทั้งนี้การสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตก็ยังมีผลเสียอีกมามานเช่นกัน ทั้งทางตรงและทางอ้อมการสื่อสารทางนี้แม้จะเป็นการช่วยให้การสื่อสารสะดวกสบายมากขึ้นแต่ใครจะรู้ว่าแท้จริงแล้ววิวัฒนาการการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตอาจจะเป็นการทำลายการสื่อสารที่ถูกต้อง



ข้อมูลจาก : รวบรวมจากหนังสือ อินเตอร์เน็ต มิติใหม่แห่งการสื่อสาร

ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต







       ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมาก  เพราะทำให้วิถีชีวิตเราทันสมัยและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ  เนื่องจากอินเทอร์เน็ตจะมีการเสนอข้อมูลข่าวปัจจุบัน  และสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ผู้ใช้ทราบเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน  สารสนเทศที่เสนอในอินเทอร์เน็ตจะมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อสนองความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ทุกกลุ่ม  อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญสำหรับทุกคนเพราะสามารถค้นหาสิ่งที่ตนสนใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปค้นคว้าในห้องสมุด  หรือแม้แต่การรับรู้ข่าวสารทั่วโลกก็สามารถอ่านได้ในอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ของหนังสือพิมพ์
          ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงมีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันเป็นอย่างมากในทุก ๆ ด้าน  ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่ในวงการธุรกิจ  การศึกษา  ต่างก็ได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น
          1.  ด้านการศึกษา  อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญ  ดังนี้
                    1.  สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล  ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ  ข้อมูลด้านการบันเทิง  ด้านการแพทย์  และอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
                    2.  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
                    3.  นักเรียนนักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้  ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง  ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆฃ
2.  ด้านธุรกิจและการพาณิชย์  อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญดังนี้
                    1.  ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
                    2.  สามารถซื้อขายสินค้า  ทำธุรกรรมผ่านระบบเครือข่าย
                    3.  เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์  โฆษณาสินค้า  ติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ
                    4.  ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท    หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ  และสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้  เช่น  การให้คำแนะนำ  สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า  แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware)  โปรแกรมแจกฟรี (Freeware)
          3.  ด้านการบันเทิง  อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญดังนี้
                    1.  การพักผ่อนหย่อนใจ  สันทนาการ  เช่น  การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ที่เรียกว่า  Magazine Online  รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่น ๆ โดยมีภาพประกอบที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสารตามร้านหนังสือทั่ว ๆ ไป
                    2.  สามารถฟังวิทยุหรือดูรายการโทรทัศน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
                    3.  สามารถดึงข้อมูล  (Download)  ภาพยนตร์มาดูได้
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
บุญลักษณ์  เอี่ยมสำอางค์  เกื้อกมล  พฤกษประมูล และโสภิต  พิทักษ์. ภาษาไทย  หลักการใช้ภาษาและการใช้ภาษา ม.4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.