วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความเป็นมาของบริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย


       ก่อน หน้าที่จะมีการเปิดบริการอินเตอร์เน็ต ในประเทศไทย ในเชิงธุรกิจดังเช่นทุกวันนี้นั้น ได้มีการเริ่มต้นติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สำหรับใช้ในการศึกษาของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการมาเป็นลำดับ เริ่มตั้งแต่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ Asian Institute of technology หรือ AIT เชื่อต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ เข้ารับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2530 โดยใช้สายโทรศัพท์ติดต่อรับส่งข้อมูลกันผ่านทางโมเด็ม ซึ่งทางออสเตรเลียจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการโทรทางไกลเข้ามารับข้อมูลกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และ AIT วันละ 4 ครั้ง แบ่งเป็น การ ติดต่อเข้าที่สงขลา 2 ครั้ง และ ที่ AIT 2 ครั้ง ซึ่งในขณะนั้น ใช้โมเดม ความเร็วเพียง 2400 บิต ต่อวินาที เท่านั้นผู้ใช้บริการทางจดหมายอิเล็กทอนิกส์ ก็คืออาจารย์ในมหาวิทยาลัย ทั้งสองแห่ง รวมถึงมหาวิทยาลัยอื่นๆด้วย แต่ผู้ใช้บริการ AIT จะมีมากกว่า เนื่องจากมีอาจารย์ที่ AIT ใช้งานกันมาก และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร ก็ใช้งานผ่านทาง AIT ด้วย จะเห็นว่า รุ่นบุกเบิกนี้ การรับส่งข้อมูลยังใช้วงจรโทรศัพท์เรียกติดต่อเป็นครั้งคราว ไม่มีการเชื่อต้อกันตลอดเวลา ระหว่างคู่สาย หรือวงจรเช่า ในปัจจุบัน และความเร็ว ในการรับส่งข้อมูลของโมเด็มในยุคนั้น ก็ไม่รวดเร็วเท่าใดนัก

ต่อ มาในปี พ.ศ. 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ได้เช่าวงจรถาวรเชื่อต่อข้อมูลกับอินเตอร์เน็ตแบบอ อนไลน์ เป็นครั้งแรก ด้วยความเร็ว 9,600 บิตต่อนาที โดยเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายของอินเตอร์เนตที่ UUNET Technologies ซึ่งทำหน้าที่เป็น ISP ในสหรัฐอเมริกา และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC (National Electronic and Computer Technology Center) ก็ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาภายในประเทศจำนวน 6 แห่งเข้าด้วยกัน เพื่อให้บริการอินเตอร์เน็ตภายในปประเทศอย่างสมบูรณ์แบบ ประกอบด้วยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, NECTEC, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า "ไทยสาร" (Thai Social/Scientific Academic and Research Network, Thai Sarn) ซึ่งเป็นการใช้งานอินเตอร์เน็ตทางการศึกษาและวิจัยโดยเฉพาะ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของบริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย โดยทั้ง 6 แห่งจะใช้คอมพิวเตอร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นจุดสำหรับเชื่อมต่อรับส่ง ข้อมูลกับต่างประเทศเพียงจุดเดียว

          หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2536 เครือข่ายของไทยสารก็ขยายขอบเขตบริการเข้าเชื่อมต่อกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากเดิม 6 แห่งหลายเป็น 19 แห่ง ประกอบด้วยสถาบันในระดับอุดมศึกษาจำนวน 15 แห่ง และหน่วยงานรัฐบาลอีก 4 แห่ง เมื่อมีผู้ใช้บริการมากขึ้นทาง NECTEC จึงได้เพิ่มวงจรระหว่างประเทศความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีขึ้นอีกหนึ่งวงจร ทำให้มีวงจรเชื่อมต่อจากประเทศไทยเข้าสู่เครือข่ายของอินเตอร์เน็ตเพิ่มเป็นสองวงจรเพื่อใช้สำรองซึ่งกันและกันได้ นอกจากนี้ยังทำให้คุณภาพของการใช้งานอินเตอร์เน็ตดีขึ้นมาก ในขณะนั้น NECTEC จึงเป็นจุดเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตจุดหลักแทนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2537 ก็ได้ขยายเครือข่ายออกไปอีก รวมเป็นการเชื่อมต่อหน่วยงานทั้งสิ้น 27 หน่วยงาน แบ่งออกเป็นสถาบันอุดมศึกษา 20 แห่ง และหน่วยงานราชการ 7 แห่ง ซึ่งได้ให้บริการอินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์แบบคือ E-mail, Telnet,ftp, Gopher และ World Wide Web หรือ WWW

                                          

 อย่าง ไรก็ตาม เครือข่ายของไทยสารนี้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อใช้ในงานวิจัยและการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้จัดตั้งขึ้นมาเปิดบริการในเชิงธุรกิจให้บุคคลทั่วไป เนื่องจากไทยสารเป็นเครือข่ายที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลและการเช่าวงจร ระหว่างประเทศจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยนั้น มีเงื่อนไขว่าจะนำไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือเช่าใช้บริการต่อไม่ได้ ดังนั้นบุคคลทั่วไปและบริษัทต่างๆ จึงเชื่อมต่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากเครือข่ายของไทยสารไม่ได้ แม้ว่าจะเป็นผู้บุกเบิกการใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยก็ตาม เมื่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยมีการขายตัวเพิ่มมากขึ้นก็ได้มีการจัด กลุ่มที่ชื่อว่า THAInet (Thailand Access to the Internet) แยกออกจากไทยสาร ซึ่งกลุ่มของ THAInet ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สำนักวิทยบริการ, วิทยาลัยอัสสัมชัญเชียงใหม่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ร่วมกันออกค่าใช้จ่ายสำหรับวงจรเช่าระหว่างประเทศจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ UUNET ความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ส่วนเครือข่ายอื่นๆ ที่เหลือจะเชื่อมต่อเป็นลูกข่ายของไทยสารตามเดิม โดย NECTEC ยังคงเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเช่าวงจรต่างประเทศให้ในฐานะที่ NECTEC เป็นหน่วยงานกลางที่ที่รับผิดชอบด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะเป็นงบประมาณจากรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนผ่าน NECTEC อีกทอดหนึ่ง

          บริษัท ต่างๆ เริ่มมองเห็นประโยชน์ของการใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย และมีความต้องการใช้งานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การสื่อสารแห่งประเทศไทยและองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจึงได้ร่วมมือกับ บริษัทเอกชนที่สนใจเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตโดยแยกเครือข่ายกับไทยสาร เริ่มจาก ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตประเทศไทย (Internet Thailand Service Center - ITSC หรือเรียกย่อๆว่า Internet Thailand), บริษัท KSC ComNet, บริษัท Loxinfo, บริษัท Infonews และบริษัทอื่นๆอีกหลายบริษัท ทหให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยกระจายออกสู่วงกว้าง

          อย่าง ไรก็ตาม เครือข่ายไทยสาร ซึ่งเป็นผู้เริ่มต้อนให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยก็ยังคงขยายตัวออกไป อยู่ตลอดเวลา โดยมีNECTEC เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อและเป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์ในการสื่อสารและวงจร เชื่อมต่อให้กับสถาบันและหน่วยงานราชการต่างๆ ที่ต้องการเชื่อมต่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต พร้อมกันนี้ก็ได้ขยายความเร็วในการรับส่งข้อมูลของวงจรเช้าจาก NECTEC ไปยังสถาบันต่างๆ จาก 9,600 บิตต่อวินาทีถึง 19,200 บิตต่อวินาที เพิ่มขึ้นเป็น 64 กิโลบิตต่อวินาทีในหลายเส้นทาง รวมถึงการติดตั้งวงจรเช่าต่างประเทศความเร็วสูง 2 ล้านบิตต่อวินาที จาก NECTEC

          เชื่อมต่อไปที่ญี่ปุ่นเพื่อเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตอีกทางหนึ่งด้วย        ปัจจุบัน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยที่ให้บริการแก่บริษัทและบุคคลทั่วไป ก็มีการขยายตัวอย่างมากควบคู่ไปกับเครือข่ายไทยสาร ทั้งหมดนี้เป็นประวัติโดยสังเขปการให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทสไทยจากยุค เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันนี้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น